LPKASEM.COM





ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก - History of Father Kasem Khemako

Image related to the section

ประวัติโดยสังเขป

หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 ที่บ้านท่าเก๊าม่วง (บ้านเค้าม่วง) ริมแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมีบิดาชื่อ เจ้าน้อยหนู มณีอรุณ และมารดาชื่อ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ทั้งสองเห็นพ้องต้องกันที่จะตั้งชื่อทารกน้อยนั้นว่า "เกษม" ซึ่งหมายถึง "ความสุขสบาย ความปลอดภัย" ความที่เจ้าน้อยหนูและเจ้าแม่บัวจ้อนต่างมีเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครลำปาง อีกทั้งทารกน้อยเกษมยังมีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าบุญวาทย์วงศ์วานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) องค์สุดท้าย ด้วยเหตุนี้ ทารกน้อยเกษม จึงได้รับการยกย่องให้มีศักดิ์ เทียบเท่าเจ้านายทางเหนือมาแต่นั้น

พี่น้องท้องเดียวกัน
หลวงพ่อเกษม เขมโก มีน้องร่วม บิดามารดาเดียวกัน ชื่อว่า สวาสดิ์ ทว่า เจ้าสวาสดิ์นั้นอายุสั้นนัก เพราะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็เสียชีวิต จากนั้นไม่นานเจ้าน้อยหนู ผู้เป็นบิดาก็ถึงแก่กรรม เจ้าเกษมจึงอยู่ในความดูแลของเจ้าแม่บัวจ้อนแต่เพียงผู้เดียว

ด้วยเหตุที่มาตราเจ็ดพระราชบัญญัติขนานนามสกุล
"เมื่อบิดาของบุคคลใด ไม่ปรากฏอยู่ชั่วกาลใด บุคคลนั้นต้องใช้สกุลฝ่ายมารดาชั่วกาลนั้น" ดังนั้นเมื่อสิ้นเจ้าน้อยหนู เจ้าเกษม จึงเปลี่ยนมาใช้นามสกุล ณ ลำปาง ของทางฝ่ายมารดาแทน จากเจ้าเกษม มณีอรุณ เป็น เจ้าเกษม ณ ลำปาง

Image related to the section

วัยเยาว์

เมื่อถึงวัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้รับการศึกษาระดับประถมในโรงเรียนบุญทวงศ์ อนุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ อ.เมือง จ.ลำปาง ร.ร.บุญทวงศ์ อนุกูล สมัยนั้น เปิดเรียนชั้นสูงสุดแค่ชั้นประถมปีที่ 5 เท่านั้น เจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้ศึกษาอยู่จนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนคือ ชั้นประถมปีที่ 5 ใน พ.ศ. 2466 ขณะนั้นอายุ 11 ปี และเมื่อออกจาก ร.ร.ก็ไม่ได้เรียนอยู่บ้าน 2 ปี ใน พ.ศ. 2468 อายุขณะนั้นได้ 13 ปี เจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้มีโอกาสได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยบรรพชาเป็นสามเณร ต่อไป

Image related to the section

การบวชเป็นสามเณร

เมื่ออายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว ทั้งสิ้น 7 วัน ซึ่งนับเป็นการก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ครั้งแรกในชีวิต และเมื่อครบกำหนด จึงได้ลาสิกขา

เมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้ง ทว่าครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากภารกิจหรือความจำเป็นใดๆ ทั้งสิ้น หากแต่เกิดจากความตั้งใจของเจ้าเกษมเองที่ต้องการบวช ฝ่ายเจ้าแม่บัวจ้อนเมื่อเห็นว่าสิ่งที่บุตรชายร้องขอนั้นไม่ใช่เรื่องผิดทำนองคลองธรรม อีกทั้งธรรมะยังทำให้ชีวิตมีความร่มเย็น และดำเนินไปในทางที่ถูกที่ควรต่อไปในภายภาคหน้าได้ เจ้าแม่บัวจ้อนจึงตัดสินใจพาเจ้าเกษมไปฝากตัวเป็นสิทธิ์กับครูบาเหมย (สุธรรม) เจ้าอาวาสวัดบุญยืน ตำบลป่าตัน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เมื่อครั้นได้บรรพชาดังที่ต้องการ สามเณรเกษม ก็หาได้ทำให้โยมแม่และท่านครูบาเหมยผิดหวังแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิปทา วัตรปฏิบัติที่เรียบร้อย งดงาม มีความมุ่งมั่นตั้งใจศึกษา พระธรรมวินัย และพระปริยัติธรรมที่สำนักเรียนวัดเซตวัน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปริยัติธรรม ควบคู่ไปกับการศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม จังหวัดลำปาง หลังจากสอบได้นักธรรมชั้นตรี ตั้งแต่อายุได้เพียง 17 ปี และสามารถ สอบนักธรรมชั้นโท ได้ในปี พ.ศ. 2474 สามเณรเกษมก็เริ่มสนใจศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง เพราะเชื่อว่านั่นคือหนทางแห่งการบรรลุธรรมที่แน่นอน Image related to the section

การบวชเป็นพระภิกษุ

หลวงพ่อเกษม เขมโกได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี 2475 โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบุญยืน หลังจากได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว พระภิกษุเจ้าเกษม เขมโก ก็ได้ศึกษาทางด้านภาษาบาลี พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน

Image related to the section

พระครูบาแก่น - หลวงพ่อเกษม เขมโก

ครูบาแก่น(อุบล สุมโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าครูบาแก่นคือภิกษุระดับพระวิปัสสนาจารย์และถือวัดปฏิบัติธุดงค์วัดอย่างเคร่งครัด พระเกษมจึงเดินทางไปกราบนมัสการพระครูบาแก่นที่วัดประตูป่องแจ้งความจำนงและขอมอบตัวเป็นศิษย์ทันทีฝ่ายท่านครูบาแก่นก็อดประหลาดใจไม่ได้ ที่ได้พบความปรารถนาของพระเกษมอย่างแรงกล้าที่จะเป็นพระป่าได้ปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อดำเนินรอยพระพุทธเจ้า เพื่อเข้าถึงทำให้ได้ท่านจึงลองใจพระเกษมด้วยการแจกแจงกฎของการถือวัดปฏิบัติธุดงค์วัดทั้งหมดให้ฟัง เป็นต้นว่า การฉันอาหารในบาตรเพียงวันละมื้อ การฉันข้าวหน้าโรงศพอันเน่าเหม็น การอดกลั้นต่อความง่วง ความร้อน ความหนาวเย็น การนอนแบบพบหลักหลังห้ามติดพื้นเด็ดขาด การอาบน้ำและซักผ้าห่มจีวรได้เพียงปีละครั้ง เพื่อดูว่าพระเกษมจะสามารถปฏิบัติได้หรือไม่ พระเกษมตอบทันควันและทันทีว่า ได้ขอรับกระผม เมื่อได้ยินคำตอบที่เป็นเสียงออกมาอย่างหนักแน่น ปราศจากความลังเลใดๆในทุกข้อทุกข้อวัตรปฏิบัติ ท่านครูบาแก่นจึงรับพระเกษมเป็นศิษย์ Image related to the section

พระครูพิชัยมงคล - หลวงพ่อเกษม เขมโก

Image related to the section พระครูพิชัยมงคล (หลวงพ่อครูบาจันตา จน.โท) (อดีต) เจ้าอาวาสวัดพิชัย ลำปาง ท่านเคยเป็นผู้สอนอักขระสมัย (หนังสือภาคเหนือ) ให้แก่ หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้เล่าเรียน ณ สำนักพิชัย
ภาพถ่าย พระครูพิชัยมงคล คู่กับ หลวงพ่อเกษม เขมโก ถ่ายไว้เป็นที่ระลึก ณ บริเวณป่าช้าพิชัย

หลวงพ่อเกษม เขมโก เจ้าอาวาสวัดบุญยืน

Image related to the section เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืนถึงแก่มรณภาพลง ทำให้ตำแหน่งเต้าอาวาสวัดบุญยืนว่าง ทางคณะสงฆ์จึงต้องเลือกภิกษุที่มีคุณสมบัติมาปกครองดูแลวัด เพื่อเป็นเจ้าอาวาสสืบไป คณะสงฆ์จึงได้ประชุมกันและต่างลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะเป็น ภิกษุเกษม เขมโก เพราะเป็นพระที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ทานก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ท่านก็เห็นว่าบัดนี้ทางวัดบุญยืนมีภารกิจต้องดูแลก็ถือว่าเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระพุทธศาสนานี้ดำรงอยู่ต่อไปจึงไม่อาจจะดูดายภารกิจนี้ได้จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนครูบาเจ้าเกษมเขมโกดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนมาจนถึงปี พ.ศ.2492 ท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสทำหนังสือลาออกกับพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระอินทระวิชาอาจารย์หรือท่านเจ้าคุณอินทร์อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปางแต่ก็ถูกท่านเจ้าคุณยับยั้งไว้ครูบาเจ้าเกษมเขมโกจึงจำใจกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืนอีกระยะเวลาถึง 6 ปีท่านคิดว่าควรจะหาพิสูจน์ที่มีคุณสมบัติมาแทนท่านเพราะท่านอยากจะออกธุดงค์ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนใดยืนใบลาได้ยื่นใบลากับคณะสงฆ์ในเขตปกครองก็ไม่เป็นผลสำเร็จจึงเดินทางไปลำไปลาออกกับเจ้าคณะจังหวัดซึ่งอยู่ที่จังหวัดเชียงรายแต่ท่านคณะจังหวัดก็ไม่อนุญาตเรื่องการลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสของครูบาเจ้าเกษมเขมโกนี้ดูค่อนข้างจะเป็นเรื่องแปลกพิสดารแม้แต่การสละตำแหน่งลาภยศยังต้องประสบกับอุปสรรคต่างๆนานาไม่เหมือนกับพระองค์อื่นๆที่ฟันฝ่าเพื่อแสวงหาลาภยศเมื่อท่านลาออกไม่สำเร็จประมาณปี พ.ศ.2492 ก่อนเข้าพรรษาในปีนั้นหลวงพ่อก็ออกจากวัดบุญยืนก่อนเข้าพรรษาเพียงวันเดียวโดยไม่มีใครรู้พอเช้าวันรุ่งขึ้นเข้าพรรษาหมู่ศรัทธาก็นำอาหารมาเตรียมถวายในวิหารทุกคนรอแล้วรอเล่าก็ไม่เห็นหลวงพ่อเกษมจึงเกิดความวุ่นวายเที่ยวตามหาตามกุฏิก็ไม่พบหลวงพ่อเกษมพอมาที่ศาลาทุกคนเห็นกระดาษวางบนทำมากเป็นข้อความที่หลวงพ่อเกษมเขียนลาศรัทธาชาวบ้านยาวถึง 2 หน้ากระดาษเสียดายที่กระดาษที่หลวงพ่อเกษมเขียนลาชาวบ้านได้หายไปแล้วข้อความบางตอนที่จำได้มีอยู่ว่าทุกอย่างเราสอนดีแล้วอย่าได้คิดไปตามเราเพราะเราสละแล้วการเป็นเจ้าอาวาสเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัวต้องรับผิดชอบภาระหลายอย่างไม่เหมาะสมกับเราเราต้องการความวิเวกจะไม่ขอกลับมาอีกแต่พวกชาวบ้านก็ไม่ละความพยายามเพราะชาวบ้านเหล่านี้ศรัทธาในตัวหลวงพ่อพอรู้ว่าหลวงพ่ออยู่ที่ไหนเมื่อรวมกันได้ 40-50 คนก็ออกเดินทางไปตามหาหลวงพ่อและไปพบหลวงพ่อที่ศาลาวังทานหลวงพ่อเกษมได้ปฏิบัติธรรมที่นั่นพวกชาวบ้านได้อ้อนวอนขอหลวงพ่อให้กับวัดบางคนร้องห่มร้องไห้เพราะศรัทธาในตัวหลวงพ่อมากแต่หลวงพ่อเกษมท่านก็นิ่งไม่พูดไม่ตอบจนพวกชาวบ้านต้องยอมแพ้ตลอดพรรษาปี พ.ศ.2492 หลวงพ่อเกษมท่านก็อยู่ที่ศาลาวังทานโดยไม่ยอมกลับวัดบุญยืนพวกชาวบ้านจึงพากันเข้าไปพบโยมแม่ของหลวงพ่อโยมแม่รักหลวงพ่อเกษมมากพระท่านมีลูกชายคนเดียวจึงให้คนพาไปหาหลวงพ่อที่ศาลาวังทานโดยมีเจ้าประเวศ ณ ลำปาง ตอนนั้นยังบวชเป็นสามเณรอยู่ โยมแม่ได้ขอร้องให้หลวงพ่อกลับวัดแต่หลวงพ่อกลับบอกโยมแม่ว่า "แม่เฮาบ่เอาแล้วเฮาบ่เหมาะสมกับวัด เฮาชอบความวิเวก เฮาขออยู่อย่างวิเวกต่อไป เฮาจะไปอยู่ที่ป่าเหี้ยว แม่อาง" จนทำให้โยมแม่หมดปัญญา ไม่รู้จะขอร้องยังไง ผลที่สุดก็ต้องตามใจหลวงพ่อ วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อเกษมก็ออกจากศาลาวังทาน เดินทางไปบ้านแม่อางด้วยเท้าเปล่า เช้ามืดไปถึงป่าเหี้ยวแม่อางก็ค่ำพอดี ฝ่ายโยมมารดาพอกลับมาบ้านก็เกิดคิดถึงพระลูกชาย เพราะเกรงว่าพระลูกชายจะลำบาก จึงออกจากบ้านไปตามหาพระลูกชาย โดยมีคนติดตามไปด้วยชื่อ โกเกตุ โยมแม่สั่งให้โกเกตุ ขนของสัมภาระเพื่อจะไปอยู่บนดอย ของที่เหลือในร้านเพชรพลอยแจกให้ชาวบ้านจนหมดเกลี้ยง ไม่เอาอะไรเลย นอกจากของใช้ที่จำเป็นบางอย่างเท่านั้น
เกตุ พงษ์พันธุ์ ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดก็พาโยมแม่ไปส่งที่แม่อาง และพวกชาวบ้านเห็นโยมแม่ของหลวงพ่อมา ก็สร้างตูบกระท่อมอยู่ข้างวัดแม่อาง ส่วนหลวงพ่อเข้าบำเพ็ญภาวนาในป่าช้าบนดอยแม่อาง บำเพ็ญภาวนาบารมีวิปัสสนาปฏิบัติธรรมได้หนึ่งพรรษา ทิ้งให้โยมแม่ซึ่งอยู่กระท่อมตีนดอยก็คิดถึงพระลูกชาย โดยแม่ก็ตามไปหาที่ป่าช้าข้างเนินดอย ก็มีชาวบ้านแถวนั้นอาสาสร้างตูบกระท่อมให้โยมแม่พักใกล้ ๆ ที่หลวงพ่อปฏิบัติธรรม โดยโยมแม่บัวจ้อนได้พำนักที่ข้างเนินดอยได้พักหนึ่งก็ล้มป่วยลงด้วยโรคไข้ป่า ชาวบ้านก็ไปตามหมอทหารมาฉีดยารักษาให้ แต่โยมแม่ท่านมีสติที่เข้มแข็ง และยังได้สั่งเสียเณรเวทย์ว่ามีเงินซาวเอ็ดบาท ให้เก็บไว้ถ้าโยมแม่ตายให้เณรไปบอกลุงมา เมื่อสั่งเสร็จโยมแม่ก็หลับตา เณรเวทย์ก็ไปบอกหลวงพ่อเกษม หลวงพ่อก็มา ท่านได้นั่งดูอาการของโยมแม่ท่านนั่งสวดมนต์ เป็นที่น่าแปลกใจขณะที่หลวงพ่อสวดมนต์ มีผึ้งบินมาวนเวียนตอมไปตอมมาสักครู่ใหญ่ ๆ โยมแม่ก็ถอดจิตอย่างสงบ นัยน์ตาหลวงพ่อเกษมมีน้ำตาค่อย ๆ ไหลขณะที่ท่านแผ่บุญกุศลให้กับโยมแม่ ท่านยังเอ่ยว่า “แหม เฮาว่า เฮาจะบ่ไห้(ร้องไห้) แล้วนา…” ศพของโยมแม่บัวจ้อน มีเณรเวทย์และชาวบ้านได้มาช่วยจัดการจนเสร็จพิธี ชาวบ้านช่วยเป็นเงินในสมัยนั้นได้ 700 บาท ถือว่ามาก ศพของโยมแม่บัวจ้อนเผาที่ป่าช้าแม่อาง หลังจากที่เสร็จพิธีงานศพโยมแม่จ้อนแล้ว หลวงพ่อก็สั่งเณรเวทย์ ให้กลับไปเรียนธรรมที่วัดบุญยืน อยู่มาไม่นาน หลวงพ่อก็จากป่าช้าแม่อาง กลับมาบำเพ็ญภาวนาที่ป่าช้าศาลาวังทานอีกเพียงหนึ่งพรรษา ท่านก็เดินทางไปอยู่ที่ป่าช้านาป้อ และกลับมาอยู่ประตูม้า ซึ่งก็คือสุสานไตรลักษณ์ในปัจจุบัน

หลวงปู่ดู่ วัดสะแก - หลวงพ่อเกษม เขมโก

Image related to the section "หลวงพ่อเกษม เขมโก และ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ" ยังมีพระเถระอีกรูปหนึ่งที่ควรกล่าวถึง เพราะหลวงปู่ดู่ให้ความยกย่องมากในความเป็นผู้มีคุณธรรมสูง และเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีความเคารพในพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหลวงปู่ดู่ได้แนะนำสานุศิษย์ให้ถือท่านเป็นครูอาจารย์อีกท่านหนึ่งด้วย นั่นก็คือหลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง ในบอร์ด"จดหมายเหตุพุทธวงศ์" ได้กล่าวถึงบารมีของพระคุณเจ้าทั้ง 2 รูปนี้ไว้ว่า เคยมี"ผู้ใหญ่"ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า อันหลวงปู่ครูบาเจ้าเกษมนั้น ท่านมีภารกิจต้องคอยใช้อำนาจจิตฤทธิ์อภิญญาของท่านคอยปกป้องคุ้มครองประเทศชาติอยู่ตลอดเวลา ท่านจึงไม่มีเวลาที่จะมาสนทนาด้วยคนทั้งหลายตามปกติให้ต้องเสียการใหญ่ใดๆไปได้ ได้ทราบมานานแล้วว่า มีผู้นั่งสมาธิไปเห็นเป็น "ตาข่ายเพชร" ล้อมประเทศไทยทั้งหมดอยู่ จึงมาเล่าให้หลวงปู่ดู่ วัดสะแกฟัง หลวงปู่ดู่จึงกล่าวรับรองทันทีว่า "นั่นแหละ ตาข่ายเพชรนั้น เป็นของที่หลวงพ่อเกษมท่านทำเอาไว้ปกป้องประเทศไทยเองหรอกน๊ะ..!!!!!" ชะรอย การคงจะเป็นด้วยเหตุนี้กระมัง หลวงปู่ครูบาเจ้าเกษมท่านจึง "พูดน้อย ภาวนามาก" เป็นนิจสินอย่างนี้ ในส่วนของหลวงพ่อเกษม พระอริยเจ้าที่หลวงปู่ดู่ให้ความเคารพมาก ยังเคยกล่าวกับลูกศิษย์ว่า “อยากฟังธรรมะ ให้ไปหาท่านพุทธทาส อยากไหว้พระปฏิบัติดี ให้ไปไหว้หลวงพ่อดู่ วัดสะแก”

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี - หลวงพ่อเกษม เขมโก

Image related to the section งานพิธีพุทธาภิเษก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ ณ วัดนางเหลียว ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง มีหลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ กับ หลวงพ่อเกษม เขมโก อยู่ร่วมปลุกเสกด้วย
หลวงปู่โต๊ะได้กล่าวว่า "พระรูปนี้ กำลังจิตรเเก่กล้ามาก" คำกล่าว หลวงปู่โต๊ะ ทัก หลวงพ่อเกษม เขมโก
หลวงพ่อเกษมได้กล่าวว่า "เรากราบองค์นี้ องค์เดียว ก็พอเเล้ว" คำกล่าว หลวงพ่อเกษม เขมโก บอกเเก่ศิษย์ที่ติดตาม

ในหลวง รัชกาลที่ 9 - หลวงพ่อเกษม เขมโก

Image related to the section Image related to the section Image related to the section Image related to the section

มรณภาพ

Image related to the section Image related to the section #### วันที่ 26 กันยายน 2538
  • เวลา 16:30 น.: หลวงพ่อเกษม เขมโก ถูกนำตัวเข้ารักษาในห้องไอซียู โรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือลำปาง เนื่องจากมีอาการเลือดน้อยจนไม่เพียงพอเลี้ยงสมอง
  • หลวงพ่อสิ้นลมหายใจที่กุฏิ แต่แพทย์ได้ปั๊มหัวใจช่วยชีวิต และหลวงพ่อฟื้นขึ้นมาหลังจากนั้น 2 ชั่วโมง โดยเริ่มสวดมนต์พึมพำทันที
    #### วันที่ 30 กันยายน 2538
  • สำนักพระราชวังส่งแพทย์หลวงมาดูแลอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหลวงพ่อมีโรคเกี่ยวกับถุงลมโป่งพองและปอดติดเชื้อ
  • อาการดีขึ้นเป็นบางส่วน แต่ยังต้องใช้สายยางให้อาหารและเครื่องช่วยหายใจ
    #### วันที่ 11 ตุลาคม 2538
  • คณะแพทย์สรุปอาการของหลวงพ่อ: อาการดีขึ้น ไม่มีเลือดออกทางเดินอาหารและทางสายยาง ไม่มีไข้
    #### วันที่ 15 ตุลาคม 2538
  • คณะแพทย์สรุปอาการอีกครั้ง: อาการตอบสนองมีเล็กน้อย ปอดติดเชื้อควบคุมได้ อาการทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ
    #### ช่วงระยะเวลาต่อมา
  • โรงพยาบาลส่งรายงานความคืบหน้าการรักษาไปยังกองราชเลขาธิการ เพื่อรายงานต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    #### วันที่ 15 มกราคม 2539
  • เวลา 18:30 น.: หลวงพ่อเกิดอาการหลอดลมตีบตันฉับพลันและหยุดหายใจ
  • แพทย์ทำการรักษาอย่างเร่งด่วน แต่ไม่สามารถช่วยได้
    #### เวลา 19:40 น. ของวันที่ 15 มกราคม 2539
  • หลวงพ่อเกษมละสังขารด้วยอาการอันสงบสิริอายุ 83 ปี 1 เดือน 17 วัน และพรรษา 64 ท่ามกลางความเศร้าโศกของคณะแพทย์และลูกศิษย์นับพันคน

    สถานที่กราบสักการะ หลวงพ่อเกษม เขมโก

    Image related to the section Image related to the section Image related to the section Image related to the section หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ชานเมืองลำปาง ตามทางสายลำปาง - แจ้ห่ม ประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อไปถึงจะพบ รูปปั้นหลวงพ่อเกษมขนาดใหญ่ ที่สังเกตเห็นได้จากถนนเลย เมื่อถึงบริเวณสำนักสุสานไตรลักษณ์ ภายในบริเวณจะมีมณฑปลักษณะเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ มีรูปปั้น หุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อเกษม เขมโก นั่งขัดสมาธิขนาดเท่ารูปจริง เพื่อให้ประชาชนเคารพ กราบไหว้ กุฏิของหลวงพ่อเกษมอยู่ด้านข้างมณฑป ภายในบริเวณมณฑปมี สังขารหลวงพ่อเกษมถูกเก็บรักษาเอาไว้ในโลงแก้วซึ่งไม่เน่าเปื่อย และยังไม่มีกำหนดจะขอพระราชทานเพลิงศพอยู่ในห้องกระจกบนมณฑปหลังนี้ผู้ใดที่เดินทางมาลำปางจะต้องหาโอกาสเพื่อที่จะเข้ามาสักการะหลวงพ่อให้ได้สักครั้งในชีวิตเพื่อเป็นสิริมงคล นอกจากพลังศรัทธาที่ประชาชนได้หลั่งไหลเข้ามาสักการะร่างสังขารของหลวงพ่อเกษม เขมโก แล้วนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่ยังมีชื่อเสียงนั่นก็คือ

    พระเครื่องหลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งไม่ใช่เฉพาะคนไทยเท่านั้นที่ต้องการมีไว้ในครอบครองเพื่อเป็นที่พึ่งพาทางจิตใจ ยังมีชาวต่างชาติที่ต้องการพระเครื่องหลวงพ่อเกษม เขมโกเช่นกัน เพราะเชื่อกันว่าหลวงพ่อในสมัยที่ท่านธุดงค์ ปฏิบัติธรรม ได้ยึดมั่น ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งเป็นแบบอย่างให้ภิกษุ ได้เป็นอย่างดี
  • วัตถุมงคลที่มีพุทธคุณทางด้าน เมตตา ,แคล้วคลาด , ปลอดภัย จากภัยทั้งปวง ตลอดจนจิตที่ไม่สงบ ของดวงวิญญาณ
  • พ่อค้าแม่ค้าต่างเชื่อกันว่าจะทำให้ ค้าขายดี ร่ำรวย ติดต่อค้าขายง่ายขึ้น ไม่ติดขัดในหน้าหน้าที่การงาน


    แหล่งอ้างอิง ครูบาเจ้าเกษม เขมโกสำนักสุสานไตรลักษณ์ ลำปาง. สืบค้นจาก http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-kasem/lp-kasem-hist-01.htm